ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประภาคาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประภาคาร แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประภาคาร เกาะนก

ประภาคาร เกาะนก (ปากน้ำตรัง)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 8m
ระยะเวลากระพริบ : 6 วับ ทุก 10 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
ตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2504 เป็นกระโจมเหล็กโปร่ง ทาสีขาว ลักษณะไฟเป็นไฟวับสีขาว  เดิมทีใช้ก๊าซ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2539 ได้เปลี่ยนเป็นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เกาะนกอยู่ตรงปากน้ำตรัง กับปากแม่น้ำปะเหลียนมาบรรจบกัน


ประภาคาร เกาะมัตโพน

ประภาคาร เกาะมัตโพน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Long Flashing
ความสูงจากฐาน : อยู่บนเขา
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 7 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 16nm (29.63 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
เกาะมัตโพน เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากชายฝั่งตรงปากน้ำชุมพร ประมาณ 500 เมตร ตัวเกาะวางตัวในแนวทิศเหนือ -ทิศใต้ ขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 350 เมตร มีแนวสันทรายเป็นทางยาวจากบริเวณชายฝั่งไปถึงตัวเกาะ ทำให้ ้สามารถเดินไปยังตัวเกาะได้เมื่อเวลาน้ำลง บนเกาะมียอดเล็ก ๆ สูงประมาณ 10 - 15 เมตร มีเจดีย์เล็ก ๆ อยู่บนยอดเขา 1 องค์ ไม่ทราบประวัติความเป็นมา แต่สังเกตุุจากรูปแบบสถาบัตยกรรม เป็นเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบศิลปกรรมมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 3.70 x 3.85 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานบัวท้องไม้สูงเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมด้านละ 2 ช่อง คงใช้เป็นที่บรรจุอัฐิ ฐานชั้นบนเป็นฐานสิงห์กลางท้องไม้คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ตกแต่งลายปูนปั้นที่แข้งสิงห์เป็นรูปลายกนก แข้งสิงห์บางอันทำเป็นรูปหน้ากาฬ ฐานสิงห์นี้ย่อมุมไม้สิบสอง รับกับองค์ระฆังสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองเช่นกัน ที่ท้องไม้ของฐานสิงห์ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้และใบไม้ บัวหงายปูนปั้นเป็นรูปลายกระจัง เส้นลวดเหนือบัวหงายเป็นรูปดอกไม้และใบไม้ ที่ท้องสิงห์ทำเป็นลายกนกรูปใบเทศ องค์ระฆังย่อมุมไม้สิบสอง ประดับลวดลายปูนปั้น เป็นรูปลายกระจังที่บัวคอเสื้อเหนือขึ้นไปเป็นบัวถลารูปแปดเหลี่ยม และบัวหงายแปดเหลี่ยมรองรับบัวกลุ่มเถา 3 ชั้นกับปลียอด กึ่งกลางปลียอดคาดด้วยลูกแก้ว 2 ชั้น บนสุดทำเป็นเม็ดน้ำค้าง ความสูงของเจดีย์ราว 9.60 เมตร มาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ซึ่งเป็นโบราณสถาน เดิมน่าจะสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ อยู่ในเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ ของกองทัพเรือ (บนยอดเขามีประภาคาร) รูปแบบสถาปัตยกรรม น่าจะมีอายุอยู่ในราวรัชกาลที่ 3–4 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอน 83ง. วันที่ 21 กันยายน 2511 ความสำคัญและสภาพปัจจุบันสภาพปัจจุบันของมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ประชาชนที่จะขึ้นไปยังเกาะมัตโพน ต้องเดินทางโดยทางเรือ หรือต้องดูระดับน้ำ หากระดับน้ำลดลงสามารถเดินไปยังเกาะได้ แต่ถ้าหากระดับน้ำขึ้นสูงไปแล้วอาจจะติดเกาะได้ ซึ่งระยะทางที่จะไปยังมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ต้องเดินลงไปจากถนนประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงขั้นบันไดซึ่งมีความสูงนับได้ 94 ขั้น ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือเฝ้าอยู่ในบริเวณที่พักข้างล่าง เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 จะมีการจัดงานประเพณี เพื่อเป็นการทำบุญสักการะ มาลิกเจดีย์ เป็นประจำทุกปี

ประภาคาร หลังสวน

ประภาคาร หลังสวน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Occulting
ความสูงจากฐาน : 19m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว (192.7-222.8 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (222.8-308.3 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 12nm (22.22 km)
สีของแสงไฟ : สีขาว (308.3-5.7 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลว่า “ ได้สร้างประภาคารที่หลังสวน จะเปิดใช้ในวันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ดวงไฟสีขาวแดงมืด 5 วินาที สว่าง 10 วินาที เห็นได้ไกล 8 ไมล์ หรือ 34 เส้น บอกทางเดินเรือ ทิศเหนือ ถึงทิศเหนือ 42 ดีกรี ตะวันออก แสงไฟสีขาว บอกทางเดิน เรือเข้าทางทิศเหนือ แลทิศเหนือ 42 ดีกรี ตะวันออกถึงทิศใต้ 53 ดีกรีตะวันออก แสงไฟ ตะวันออกสีแดงบอกว่ายังมี เศษศิลาใต้น้ำ ทิศใต้ 51 ดีกรี ตะวันออก ถึงทิศใต้ แสงไฟสีขาว บอกทางเดินเรือทางทิศใต้ ดวงไฟขึ้นเหนือ ระดับน้ำขึ้นเต็มที่ 41 ฟิต (ข้อมูลปี ร.ศ.129) ขอพระราช ทานชื่อประภาคารนี้
      ราชเลขานุการให้มีหนังสือที่ 51 ลงวันที่ 20 กันยายน ร.ศ.129 ตอบว่า “ มีพระบรมราชโองการว่า ดีแล้วพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้เปิด แต่ชื่อมิทรง ทราบว่า จะตั้งอย่างไร น่ากลัวจะเรียกชื่อซ้ำ เช่น ปากน้ำรีเยนท์ไลท์ ก็ไม่เห็นค่อยเรียกกัน เจ้าคุณเห็น ควรให้ประทานชื่อประการใดก็ให้นำความมากราบบังคมทูลเมื่อวันที่พระกรุณา       เจ้าพระยายมราช ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลเมื่อวันที่ 26 กันยายน ว่า “ จะ ตั้ง อย่างอื่นไม่เหมาะสมกับตำบลที่ และหน้าที่ ถ้าจะให้ชื่อว่า ประภาคารหลังสวน ก็เห็นจะเหมาะดี ” พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ ๔๕/๑๐๖๙ ตอบว่า “ ได้ทราบแล้ว เช่นนี้เรียกตำบลของประภาคาร ไม่ใช่ตั้งชื่อ เป็นธรรมดาต้องเรียกกันอยู่เช่นนั้นเอง หมายว่าจะขอเป็นชื่อพิเศษอย่างอื่น จึงไม่รู้ว่าจะให้อย่างไร ”

ประภาคาร เกาะปราบ

ประภาคาร เกาะปราบ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 73m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 6 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 21nm (38.89 km)

กระโจมไฟ
รูปแบบไฟ : Group Occulting
ความสูงจากฐาน : 22m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 7 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
ปากแม่น้ำตาปี ยังมีเกาะเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญ ต่อการนำเรือเข้าสู่แม่น้ำตาปี เกาะนั้น คือ เกาะปราบ กองทัพเรือได้จัดสร้าง ประภาคาร ใช้งานตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นที่หมายสำหรับเรือขนาดใหญ่ และเรือประมงทั่วไป ใช้สัญจรเข้า - ออก ปากแม่น้ำตาปี เป็นประภาคารโครงสร้างเหล็ก มีอาคารที่ทำการและที่พัก ของข้าราชการและพนักงานดูแลเปิดปิดตะเกียงประภาคาร ต่อมาได้มีการปรับปรุงก่อสร้าง เป็นกระโจมคอนกรีต เสริมเหล็ก เมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2536 สามารถ ส่องแสงสว่างให้เห็นได้ไกล  เกาะปราบนอกจากจะมีกระโจมไฟแล้วยังมีชื่อเสียง เกี่ยวกับหอยนางรมมาช้านาน หอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และรสชาติอร่อยมาก นำชื่อเสียงมาสู่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงทุกวันนี้ และเนื่องจากเกาะปราบอยู่ไม่ห่างไกลจาก แม่น้ำตาปี มาก นัก ผู้คนในตัวเมืองมักนิยมมาเที่ยวชมอยู่เสมอ


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประภาคาร ระนอง (ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)

ประภาคาร ระนอง (ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 46m
ระยะเวลากระพริบ : 4 วับ ทุก 4 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประวัติ
วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์จอดเรือ และส่งกำลังบำรุงเรือตรวจการณ์ ของกรมศุลกากรทางด้านทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นเป็นท่าเทียบเรือ เพื่อการท่องเที่ยว และการค้าชายแดนจังหวัดระนอง กรมศุลกากรจึงได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และอาคารประภาคาร จำนวน 85 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2545 ในส่วนของท่าเทียบเรือ มีความยาวของสะพาน 344 เมตร กว้าง 10 เมตร
     
       ส่วนปลายท่าได้ก่อสร้างประภาคารมีความสูง 48.5 เมตร หรือ 9 ชั้น ถือว่า เป็นประภาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550
     
       ทั้งนี้ ได้รับพระราชทานชื่อว่า ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ส่วนที่มีการออกแบบเป็นอาคาร 8 เหลี่ยมนั้น เป็นตัวเลขที่สื่อความหมายถึงปีมหามงคลนั้นเอง ซึ่งบนชั้น 9 ที่ใช้สำหรับชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของปากน้ำระนองทั้งในฝั่งของไทย และฝั่งประเทศพม่า จุคนได้ประมาณ 50 คน สามารถเดินวนได้รอบ 360 องศา มีลิฟต์ไว้ให้บริการหนึ่งตัว
     
       ส่วนคนที่กลัวความสูง สามารถขึ้นไปชมวิวที่ชั้น 2 ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลอันดามัน ทั้งในฝั่งของไทย และฝั่งประเทศพม่า เป็นปลายสุดของแม่น้ำกระบุรีที่กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับพม่า ก่อนไหลออกสู่ทะเลอันดามัน ส่วนที่อยู่บนสุดของอาคารเป็นที่ตั้งของสัญญาณไฟประภาคาร ใช้ประโยชน์สำหรับการเดินเรือในเวลากลางคืน


ประภาคาร เกาะตะเภาน้อย

ประภาคาร เกาะตะเภาน้อย




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 54m
ระยะเวลากระพริบ : 6 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 20nm (37.04 km)

ประวัติ
เกาะตะเภาน้อย เป็นเกาะที่อยู่ในความดูแล ของกองทัพเรือ โดยกรมอุทกศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประภาคารเกาะตะเภาน้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยประภาคารเกาะตะเภาน้อย เป็นประภาคารซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2442 เดิมเป็นประภาคารแบบใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นตะเกียงแบบใช้ก๊าซ เมื่อปี พ.ศ.2470 และเปลี่ยนเป็นใช้พลังงานแสงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2540 มีลักษณะเป็นกระโจมอิฐหอคอย ทาสีขาว สูง 11 เมตร ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 55 เมตร มองเห็นได้ไกล 20 ไมล์ทะเล สัญลักษณ์เป็นไฟวับ หมู่สีขาว  ซึ่งเกาะตะเภาน้อยนี้ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายช่วยการเดินเรือและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการเดินเรือในบริเวณอ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต มีความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ เกาะตะเภาน้อย ยังเป็นสถานีวัดระดับการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการทำนายระดับน้ำขึ้นลงอีกด้วย





เกาะตะเภาน้อย ตั้งอยู่ที่ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากชายฝั่งอ่าวมะขาม ประมาณ 1 ไมล์ทะเล บริเวณโดยรอบเกาะเป็นหาดทรายและหาดหิน และยังคงมีแนวปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบเกาะ เป็นเกาะขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ความศิวิไลย์ของตัวเมืองภูเก็ต ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ และสัตว์ป่านานาพันธุ์ โดยมีตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าได้แก่ ฝูงนกแก๊ก  อาศัยอยู่ในเกาะตะเภาใหญ่และเกาะตะเภาน้อยแห่งนี้ ซึ่งนกแก๊ก (Oriental Pied Hornbill : Anthracoceros albirostris) เป็นนกเงือกพันธุ์หนึ่งในจำนวน13 สายพันธุ์ ที่มีแหล่งอาศัยในประเทศไทย นกแก๊กที่อาศัยในเกาะตะเภาน้อยและเกาะตะเภาใหญ่ ทำรังในโพรงไม้บนต้นไม้ในป่าอันอุดมสมบูรณ์ กินลูกไม้และผลไม้หรือแมลงขนาดเล็กในป่าเป็นอาหาร นอกจากหาอาหารตามธรรมชาติแล้ว นกแก๊กบนเกาะตะเภาน้อย ยังกินมะม่วง ขนุน น้อยหน่า ชมพู่ กล้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปลูกไว้ด้วย และในบางครั้ง นกแก๊กบางตัวที่ไม่กลัวคน ยังลงมากินข้าวสุก หรือผลไม้ ซึ่งเจ้าหน้าที่นำไปวางไว้ ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มาเยี่ยมเยือน ได้มีโอกาสชมนกแก๊กอย่างใกล้ชิดด้วยนอกเหนือจากผืนป่าและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์บนเกาะตะเภาน้อย รวมทั้งการเป็นที่ตั้งของประภาคารเกาะตะเภาน้อย เครื่องหมายช่วยการเดินเรือที่สำคัญยิ่งในทะเลอันดามันแล้ว บริเวณยอดเขาด้านข้างของประภาคาร ยังเป็นที่ตั้งของอาคารเรือนไม้สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสเก่าแก่ อายุกว่าร้อยปี ซึ่งเดิมเป็นที่ทำการของประภาคาร สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อรวบรวมเรื่องราวและอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับการรายงานอุทกศาสตร์ เครื่องหมายเดินเรือ สถานีวัดระดับน้ำ สถานีวัดอากาศมาจัดแสดงไว้ นอกจากนี้บนเกาะ ยังมีป้อมปืนโบราณ สร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทหารญี่ปุ่น ได้ควบคุมเชลยศึกมาสร้างไว้ปัจจุบัน เกาะตะเภาน้อย เป็นสถานที่ราชการซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือและยังคงมีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อนุญาตเฉพาะนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติอย่างแท้จริงให้เข้ามาเยี่ยมเยือนได้ในจำนวนจำกัดภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่กองทัพเรือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ธรรมชาติและสัตว์ป่าบนเกาะถูกรบกวน โดยเมื่อนักท่องเที่ยวเดินขึ้นจนถึงบนยอดเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของประภาคาร จะสามารถมองเห็นฝั่งอ่าวมะขามได้อย่างชัดเจน รวมทั้งยังเห็นการจราจรทางน้ำที่คับคั่งบริเวณท่าเรือภูเก็ตอีกด้วย


วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประภาคาร ปัชโชติวชิราภา

ประภาคาร ปัชโชติวชิราภา เกาะลันตา



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 30m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
ประภาคารนี้ตั้งอยู่ที่ปลายแหลมทิศใต้ของเกาะลันตาเป็นหอคอยทำจากเฟอโรคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 ต่อมาตัวกระโจมไฟเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทางราชการจึงได้สร้างใหม่ ในบริเวณใกล้เคียงกัน และเปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2514 ใช้ตะเกียงก๊าซอเซทีลีน และได้เปลี่ยนเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2533 ลักษณะไฟคงเดิม เป็นไฟสีขาว วับ 3 ครั้ง เป็นหมู่ ทุก ๆ 15 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 31 เมตร


ประภาคาร กาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ

ประภาคาร กาญจนภิเษก แหลมพรหมเทพ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 93m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 9 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 22nm (40.74 km)

ประวัติ
  เนื่องในมหาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50ปี ในปี พุทธศักราช 2539 กองทัพเรือ ร่วมกับหน่วยราชการ และประชาชน จังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสร้างประภาคาร ขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษก ในการพิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างนั้น ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า บริเวณแหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ ที่เหมาะสมที่สุด

   เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก และจังหวัดภูเก็ตถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญทางด้านทะเลอันดามัน การสร้างประภาคารที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จะเป็นการเผยแผ่พระบารมีให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องหมายช่วยในการเดินเรือแล้ว ยังเป็นที่เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ เช่น ข่าวอากาศ เวลาน้ำขึ้น - ลง เวลาดวงอาทิตย์ ขึ้น - ตก การเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น และยังจะเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมแหลมพรหมเทพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

   ประภาคารแห่งนี้ ได้รับพระราช ทานนามว่า “ประภาคารกาญจนาภิเษกแหลมพรหมเทพ” เมื่อการก่อสร้างได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2540 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดประภาคาร ณ บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต รูปแบบของประภาคารด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น มีวงเข็มทิศประดับที่โถงเหนือ ทางเข้าด้านหน้ามีตราสัญลักษณ์ปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ด้านข้างตราสัญลักษณ์ประดับธงชาติ ด้านใต้ตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องแสดงข้อมูลเวลา ระบบไฟวิ่ง ขนาด 1.50 x 7.00เมตรชั้นล่าง ภายในเป็นห้องกระโจมไฟ 1 ห้อง และห้องแสดงนิทรรศการ 1 ห้อง ซึ่งจะจัดแสดงนิทรรศการทางอุทกศาสตร์ และจะมีแผ่นจารึกชื่อของผู้ที่ให้การสนับสนุนบริจาคเงินในการก่อสร้างประภาคาร ซึ่งสามารถมองเห็นได้ เมื่อเข้ามาภายในประภาคารมีบันไดโค้งครึ่งวงกลม จากห้องแสดงนิทรรศการชั้นล่างขึ้นไปยังห้องดาดฟ้าชั้นบน ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์โดยรอบบริเวณได้ จากระดับดาดฟ้าชั้นบนมีบันไดเวียนขึ้นไปยังแท่นติดตั้งตะเกียงประภาคาร วัสดุที่ใช้สร้างประภาคาร ใช้ชนิดที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีความสวยงาม และมีความทนทานสูง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กกรุหินแกรนิต กระจกสะท้อนแสง ๒ ชั้น สีทอง กระจกใสเจียระไน กรอบอลูมิเนียมสีทอง โลหะปิดทองคำหรือหุ้มทองคำ และทองเหลือง

   ลักษณะ ขนาดและความหมาย ของประภาคารที่สำคัญ ส่วนยอดของประภาคารได้รับการออกแบบโดยการนำลักษณะสำคัญของตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี มาประดิษฐานไว้ ประกอบด้วย

  • พานเครื่องสูง 2 ชั้น เป็นที่ตั้งดวงประทีป หรือตะเกียงประภาคารที่ส่องสว่างรอบทิศ เปรียบประดุจพระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์อันแผ่ไพศาลทั่วแผ่นดิน ตะเกียงประภาคารภายใต้เศวตฉัตร 9 ชั้น
  • ช้าง 3 เชือก เทินดวงประทีปอยู่ภายใต้เศวตฉัตร 7 ชั้น มีความหมายถึง ช้างเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเหมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชนซึ่งเป็นเหมือนข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ความหมายโดยรวมเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลของพระองค์ที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี
  • ตะเกียงประภาคารเป็นรูปกรวยกลมทำด้วยอาครีลิคใส ภายในมีโคมไฟหมุนส่องสว่างรอบทิศ ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ ทุกๆ 9 วินาที (สว่าง 0.21 วินาที มืด 8.79 วินาที) วางอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 94 เมตร
  • ฐานรับตะเกียงประกอบด้วยโลหะปิดทองคำ 10 เหลี่ยม มีความหมายถึงทศพิธราชธรรม คือ
  1. ทาน
  2. ศีล
  3. บริจาค
  4. ความซื่อตรง(อาชชวะ)
  5. ความอ่อนโยน (มัททวะ)
  6. ความเพียร (ตบะ)
  7. ความไม่โกรธ (อักโกธะ)
  8. การไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)
  9. ความอดทน (ขันติ)
  10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ)
  • ส่วนโลหะปิดทองคำ มีความหมายถึง ปีกาญจนาภิเษก หอคอยรับพานติดตั้งตะเกียง ขยายขนาดตามสัดส่วนที่สวยงามลาดลง สลักข้อความทศพิธราชธรรมดังกล่าว พร้อมบทพระราชนิพนธ์

ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระบวรพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระราชจริยาวัตรที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงปฏิบัติ และเป็นที่ตระหนักกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญอย่างไพบูลย์เต็มที่ทุกประการ ต้องตามขัตติยราชประเพณี นับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ตราบเท่าถึงกาลปัจจุบัน ความสูง 50 ฟุต มีความหมายถึง ทรงครองราชย์มาครบ 50 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกว้าง 9 เมตร มีความหมายถึง รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี แสงไฟของประภาคารมองเห็นได้ไกล 39 กิโลเมตร มีความหมายถึงปี พ.ศ.2539 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี


ประภาคาร อาภากร

ประภาคาร อาภากร เกาะไผ่



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 155m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 20 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 31nm (57.41 km)

ประวัติ
ยอดเกาะไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ในเส้นทางที่เรือเดินทะเลจะต้องผ่านก่อนเข้าสู่ท่าเรือตอนบนของอ่าวไทยและท่าเรือกรุงเทพฯ ได้มีการสร้างประภาคารเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึง พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประภาคาร แ ห่ง นี้ได้รับขนานนามว่า “อาภากร” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่าน ประภาคารแห่งนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการกระทรวงอื่นทั้ง ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน บรรดาข้าราชการในกระทรวงทหารเรือ (ครั้งนั้นยังเป็นกระทรวง) รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้สละทรัพย์ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติคุณที่พระองค์ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ไว้ต่อประเทศชาติเป็นอเนกประการ ประภาคารอาภากรนี้เป็นประภาคารที่ส่องรัศมีเห็นได้ 31 ไมล์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 156เมตร มีลักษณะไฟเป็นไฟวับสีขาว ทุกๆ 5 วินาที สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2470

ประภาคาร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ประภาคาร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แหลมปู่เจ้า




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 167m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 30nm (55.56 km)

ประวัติ
ประภาคารแห่งนี้ ตั้งอยู่บนยอดเสาปลายแหลมปูเจ้า ปากทางเข้าอ่าวสัตหีบ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทำเป็นแท่นสูงขึ้นไปทางตั้ง เป็นรูปครีบกระโดงปลา มีความสูงจาก ฐานถึงยอดครีบ 19.50 เมตร ตอนล่างประกอบด้วยห้องบันได และบันไดเหล็กขึ้นตามปล่องภายในครีบกระโดง ตอนบนมีชานคอนกรีต ยื่นจาก แท่นครีบกระโดงสำหรับเป็นที่วางเรือนตะเกียง การก่อสร้างเริ่มเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2502 และเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2502 รายละเอียดตัวกระโจมคอนกรีต เสริมเหล็ก ทาสีขาว ความสูงของไฟเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 178 เมตร ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2547ยกฐานะขึ้นเป็นประภาคาร

ประภาคาร อัษฏางค์

ประภาคาร อัษฎางค์ (หินสัมปะยื้อ)



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 16m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประวัติ
   เมื่อ พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชัง ปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าอัษฎางค์เดชาวุธสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงพระประชวร และเสด็จมาประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ เกาะสีชัง ทรงพระราชดำริว่า ทางที่เรือจะเข้าร่องเกาะสีชัง คือตำบลที่หินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้น มีกองหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนสว่าง หรือประภาคารขึ้นที่หินนั้น ประภาคารหลังนี้มีชื่อว่า “อัษฎางค์” ดังมีปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘ พุทธศักราช ๒๔๓๘ ว่า

“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า ทางเรือที่เข้าช่องเกาะสีชัง คือ ตำบลหินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้นมีกองหินหรือหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชัง นั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนแสงสว่างหรือประภาคาร (Lighthouse) ขึ้นที่หินนั้น และจะให้มีคนรักษาเพื่อเป็นที่หมายของเรือไปมาโดยง่ายสะดวกยิ่งขึ้น”

ต่อมาตัวประภาคารหินสัมปะยื้อ และบ้านพักของเจ้าหน้าที่ได้ชำรุดทรุดโทรมมาก และประกอบกับการคมนาคมไม่สะดวก ดังนั้น จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตัวประภาคารใหม่ และได้ย้ายบ้านพักของเจ้าหน้าที่ประภาคารไปตั้งอยู่บนเกาะขามใหญ่ (ตรงข้ามเกาะสีชัง) เมื่อ พ.ศ.2512 มาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับตัวเรือนตะเกียงที่ติดตั้งบนประภาคาร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงจากระบบน้ำมันก๊าด มาใช้เป็นระบบตะเกียงก๊าซอเซทีลีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2471 และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงมาใช้ตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม พ.ศ.2534

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประภาคาร ระยอง

ประภาคาร ระยอง



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 11nm (20.37 km)

ประภาคาร แหลมสิงห์

ประภาคาร แหลมสิงห์




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประภาคาร แหลมงอบ

ประภาคาร แหลมงอบ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Occulting
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 13nm (24 km)

ตำนานของแหลมงอบ
ตำนานแรก ได้เล่าว่า มีหญิงชราคนหนึ่ง ชื่อ ยายม่อม มีคอกควายอยู่ที่สลักคอก วันหนึ่งควายของยายม่อมได้หายไป ยายม่อมจึงออกตามหาควาย และได้จมน้ำทะเลตายกลายเป็นโขดหินชื่อ ยายม่อม ส่วนงอบของยายม่อมกลายเป็นแหลมงอบ ควายของยายม่อมกลายเป็นโขดหินเล็ก ๆ เช่นกัน ส่วนตำนานของเกาะช้างตำนานแรก เล่าว่า เดิมเกาะนี้มีเสืออยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวญวนคนหนึ่งชื่อ องค์โด้ ได้ทำพิธีขว้างก้อนหินลงไปในทะเลและสาบว่า ถ้าหินนี้ไม่ผุดขึ้นมาให้คนเห็น เกาะช้างจะไม่มีเสืออีกต่อไป เกาะช้างจึงไม่มีเสือมาจนทุกวันนี้ นิทานเรื่องนี้ นายติ้น ที่เป็นคนที่อยู่เกาะช้างได้เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ต้นสกุล สลักเพชรุ้ง นอกจากนี้ยัง มีตำนานแหลมงอบ เกาะช้าง ซึ่งมีผู้เขียนไว้อีกว่า มีความเกี่ยวข้องกับชื่อของหมู่เกาะช้าง ชื่อสถานที่ และเหตุที่เกาะช้างไม่มีช้าง มีอยู่สมัยหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้สร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีช้างพลายอยู่เชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลง มีชื่อว่า อ้ายเพชร และมีสองตายายคอยเลี้ยงดู ตาชื่อ ตาบ๋าย ยายชื่อ ยายม่อม วันหนึ่ง อ้ายเพชรจ่าโขลงเกิดตกมันเตลิดเข้าในป่า ไปผสมพันธุ์กับนางช้างป่า ตกลูกมา 3 เชือก เมื่อพระโพธิสัตว์รู้เรื่องเข้า จึงได้ทรงสั่งให้ตายายติดตามหาอ้ายเพชร โดยให้ตาไปทางหนึ่ง ยายไปอีกทางหนึ่ง อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะด้านเหนือจึงว่ายน้ำมาขึ้นฝั่งซึ่งปัจจุบันนี้เรียก ว่า บ้านธรรมชาติ ส่วนลูกทั้งสามที่ตามมาด้วย ว่ายน้ำยังไม่เป็น จึงจมน้ำตายแล้วกลายเป็นหิน 3 กอง อยู่บริเวณอ่าวคลองสน จนชาวบ้านพากันว่า “หินช้างสามลูก” ในขณะที่อ้ายเพชรว่ายน้ำไปถึงกลางร่องทะเลลึก ได้ถ่ายมูลทิ้งไว้กลายเป็นกองหินอยู่ตรงนั้น เรียกว่า “หินขี้ช้าง” ปัจจุบันมีประภาคารบนหินกองนี้ เมื่อสามารถขึ้นฝั่งได้แล้ว อ้ายเพชรได้เดินเลียบไปตามชายฝั่งทิศใต้ ตาบ๋ายเห็นว่าไปไกลแล้วตามไปไม่ทันจึงเดินทางกลับ ปล่อยให้ยายติดตามไปผู้เดียว ยายม่อมตามไปจนทันช้างขึ้นฝั่งแต่ไม่กล้าเข้าไปในป่าเพราะกลัวว่าสัตว์จะทำ ร้ายเอา ในที่สุดก็ตกลงไปในโคลนไม่สามารถขึ้นมาได้ จนถึงแก่ความตายอยู่ตรงนั้นเอง ร่างกายของแกกลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “หินยายม่อม” ส่วนงอบที่สวมไว้ได้หลุดลอยไปติดอยู่ที่ปลายแหลม และกลายเป็นหิน ชาวบ้านเรียกว่า “แหลมงอบ” ตรงบริเวณที่ตั้งประภาคารในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติดชายฝั่งนั่นเอง เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบว่า อ้ายเพชรมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ จึงเข้าใจว่าอ้ายเพชรจะต้องไปที่เกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดักไว้จนเกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า “บ้านคอก” และเกาะซึ่งเกิดจากลิ่มและสลักที่ทำคอกนั้น เรียกว่า “เกาะลิ่ม” “เกาะสลัก” ส่วนมากจะเรียกรวมกันว่า “บ้านสลักคอก” ฝ่ายอ้ายเพชรนั้น เมื่อเดินเลียบชายฝั่งมาจนถึงท้ายเกาะ ก็ข้ามไปยังเกาะตามที่คาดไว้ พอว่ายน้ำไปได้สักครู่หนึ่งก็ถ่ายออกมากลายเป็น “หินกอง” ทุกวันนี้น้ำในบริเวณนั้นลึกมาก แต่ไม่ได้เป็นเส้นทางเดินเรือ จึงไม่ได้มีการสร้างประภาคารขึ้นที่บริเวณนี้ เมื่ออ้ายเพชรไปถึงแล้วแทนที่จะเข้าคอกไป  กลับเดินเลียบฝั่งอ้อมแหลมเข้าไปทางอ่าวด้านนอก พระโพธิสัตว์จึงได้สั่งให้คนไปช่วยกันสกัดให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้านจึงเรียกที่ ๆ ไปสกัดข้างนี้ว่าไปสลักหน้า และเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า “บ้านสลักเพชร” ซึ่งหมายถึง สลักหน้าอ้ายเพชร โดยเหตุที่เกิดความยุ่งยากนี้ พระโพธิสัตว์จึงฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะต่าง ๆ มิให้ช้างอาศัยอยู่อีกต่อไป นับแต่นั้นมา เกาะต่าง ๆ จึงไม่มีช้างอาศัยอยู่จนปัจจุบันนี้